ผู้เขียน หัวข้อ: สช.ชง “ปู” ตรวจที่มาบอร์ด สปสช.  (อ่าน 1047 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9763
    • ดูรายละเอียด
สช.ชง “ปู” ตรวจที่มาบอร์ด สปสช.
« เมื่อ: 17 มกราคม 2012, 20:56:52 »
สช.เสนอ “รัฐบาลปู” ตรวจสอบที่มาของบอร์ด สปสช.ชุดใหม่ เชื่อช่วยบรรเทาความขัดแย้ง ด้านนักวิชาการสาธารณสุข ชี้ ต้องทำทุกระบบให้เท่าเทียม เสนอ กำหนด 3 ระบบทำwork shop ร่วมกัน
       
       จากกรณีการสรรหาคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) เกิดความขัดแย้งในหลายฝ่ายจนนำไปสู่ไปสู่การฟ้องร้องศาลปกครอง เพื่อให้มีการพิจารณาว่าจะคุ้มครองชั่วคราว และอาจเข้าสู่การเลือกบอร์ด สปสช.ชุดใหม่นั้น
       
       ล่าสุด วานนี้ (16 ม.ค.) นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) กล่าวว่า ที่ผ่านมา การบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เป็นหน้าที่ของบอร์ด สปสช.ซึ่งเป็นการทำงานระหว่างฝ่ายวิชาการกับการเมือง โดยเน้นประโยชน์สูงสุดของประชาชนเป็นหลัก ซึ่งรวมถึงความช่วยเหลือกรณีได้รับความเสียหายจากการบริการ ซึ่งการดำเนินการเช่นนี้ย่อมส่งผลต่อผู้ให้บริการบางกลุ่ม ผู้ที่เคยมีอำนาจในการใช้ทรัพยากร อำนาจในการตัดสินใจต่างๆ อาจไม่พอใจได้ และยิ่งมีการเปลี่ยนแปลงของบอร์ด สปสช. ที่อาจไม่ค่อยคุ้นชินกับรายชื่อบอร์ดเท่าไรนัก อาจเกิดคำถามมากมาย ตรงนี้รัฐบาลต้องเข้ามาชี้แจงแก้ป้ญหาให้ระบบพัฒนาได้จริง โดยต้องตรวจสอบการได้มาของบอร์ด สปสช.ชุดนี้ว่า ถูกต้องจริงหรือไม่
       
       นพ.พงศธร พอกเพิ่มดี นักวิชาการเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข กล่าวว่า การแก้ไขที่ดีที่สุดต้องทำให้ทุกระบบทุกกองทุนมีความเท่าเทียม เพราะไม่ว่ากองทุนประกันสังคมก็พบว่า มีปัญหาในเรื่องการบริหาร ไม่เข้าใจระบบดีพอ ขณะที่สิทธิสวัสดิการข้าราชการ มีการใช้งบประมาณมากจนเกินไปโดยใช้งบฯสูงกว่า 6 หมื่นล้านบาท เพื่อคนเพียง 5 ล้านกว่าคน ขณะที่ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ก็มีปัญหาในเรื่องของการมองข้ามหน่วยบริการหลักของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ทำให้เกิดความไม่เข้าใจเหมือนที่ผ่านมา สิ่งเหล่านี้ต้องแก้ปัญหา รวมทั้งต้องมีการหารือถึงจะทำอย่างไรให้ทุกระบบเท่าเทียมที่สุด โดยเฉพาะสิทธิการรักษาพยาบาลพื้นฐาน โดยกำหนดให้ทั้ง 3 กองทุน หันหน้าเข้าหากันเพื่อร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ (Work Shop) หาแนวทางทำอย่างไรให้สิทธิการรักษาพยาบาลพื้นฐานเท่าเทียมกันจริงๆ ซึ่งตรงนี้มองว่า หากทำได้จริงจะเป็นทิศทางที่นำไปสู่มาตรฐานเดียวกัน หากรัฐบาลจริงจังกับเรื่องนี้ เชื่อว่าจะเป็นอานิสงค์ครั้งใหญ่ของระบบสุขภาพไทยทีเดียว
       
       ขณะที่ น.ส.บุญยืน ศิริธรรม กรรมการสัดส่วนองค์กรเอกชน บอร์ด สปสช.กล่าวถึงความคืบหน้ากรณีการยื่นฟ้องศาลปกครองเกี่ยวกับที่มาของบอร์ด สปสช.ว่า หลังจากได้ยื่นฟ้องศาลปกครองถึงความไม่ถูกต้องในการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิของบอร์ด สปสช.เนื่องจากขัดต่อ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 กรณีไม่ครบองค์ประกอบของกรรมการ แต่กลับมีการเลือกผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อขอให้ศาลปกครองพิจารณารับคุ้มครองชั่วคราว ซึ่งจะมีผลให้บอร์ด ไม่สามารถทำงานได้ และต้องมีการสรรหาบอร์ด สปสช.ใหม่อีกครั้ง ซึ่งศาลรับเรื่องไว้แล้วแต่ขอให้ส่งข้อมูลเพิ่มเติมประกอบการพิจารณา

ASTVผู้จัดการออนไลน์ 17 มกราคม 2555