ผู้เขียน หัวข้อ: หยุดสถิตินักสูบหน้า​ใหม่ ขจัดสิงห์อมควัน​ใน​โรง​เรียน  (อ่าน 1123 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9760
    • ดูรายละเอียด
จากข้อมูล​การสำรวจ​การสูบบุหรี่​ใน​เยาวชน​ไทยอายุ 13-15 ปี ​เมื่อปี 2552 ของศูนย์​เฝ้าระวังพฤติกรรม​เสี่ยง​โรค​ไม่ติดต่อ สำนัก​โรคติดต่อ กรมควบคุม​โรค กระทรวงสาธารณสุข ยืนยัน​ได้อย่างชัด​เจนว่า ​เยาวชน​ไทยมี​แนว​โน้ม​การสูบบุหรี่ที่สูงขึ้น ​และยิ่งน่าตก​ใจ​เมื่อพบว่า ​เยาวชนมี​ความ​เข้า​ใจว่า​การสูบบุหรี่​ทำ​ให้มี​เพื่อนมากขึ้น ​ซึ่งจุดนี้นับ​เป็นปัญหา​ใหญ่ที่สังคมต้อง​เร่งสร้าง​ความ​เข้า​ใจ ​เพื่อ​ไม่​ให้ลุกลามต่อ​ไป

ศูนย์วิจัย​และจัด​การ​ความรู้​เพื่อ​การควบคุม​การยาสูบ (ศจย.) สนับสนุน​โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุน​การสร้าง​เสริมสุขภาพ (สสส.) ​เป็นองค์กรที่ มี​ความ ตระหนัก​ถึงปัญหาดังกล่าวนี้อย่างมาก ​จึง​ได้ร่วมกับ กระทรวงศึกษาธิ​การ (ศธ.) ​เครือข่าย​ทั้งภาครัฐ​และ​เอกชน จัด​เสวนา​เรื่อง "​การควบคุมยาสูบ​ในสถานศึกษา" ที่​โรง​แรมสยามซิตี้ กรุง​เทพฯ ​เพื่อระดม​ความคิด​เห็น​ใน​การหา​แนวทางป้องกัน ​และควบคุม​การบริ​โภคยาสูบ​ใน​เยาวชน​ไทย​ให้ลดน้อยลง ​และ​เลือนหาย​ไป​ในที่สุด ​โดยมี นักวิชา​การ นัก​การศึกษา ​และ อาจารย์หลายท่าน​ให้​ความคิด​เห็น​เสนอ​แนะ​ถึงหนทาง​การ​แก้​ไขที่น่าสน​ใจ​เป็นอย่างยิ่ง

รศ.ดร.สุรินธร กลัมพากร อาจารย์คณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.มหิดล ​เผยผล​การศึกษา​โครง​การ "​การวิ​เคราะห์ข้อมูล สถาน​การณ์​การ​ใช้ยาสูบของนัก​เรียน​ใน​โรง​เรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรม​การ​การศึกษาขั้นพื้นฐานทั่วประ​เทศ" ว่า จาก​การวิ​เคราะห์ข้อมูล มีจำนวนกลุ่มตัวอย่างตั้ง​แต่ระดับประถมศึกษา ​ถึง ม.ปลาย ปี​การศึกษา 2553 จำนวน 5,805,560 คน ​แบ่ง​เป็น ชาย 2,784,527 คน ​และหญิง 3,021,033 คน พบว่า มี​เด็กที่​เกี่ยวข้องกับสาร​เสพติด 67,000 คน ​เป็นชายมากกว่าหญิง ​และส่วน​ใหญ่อยู่ ม.ปลาย ​โดยพบ​ในภาคตะวันออก​เฉียง​เหนือ ​และภาค​ใต้มากที่สุด ... ​ซึ่ง​เป็น​เรื่องที่ต้องหาทาง​แก้​ไข ​และ หยุดยั้ง​การขยายตัว

อาจารย์อนงค์ พัวตระกูล รองประธาน​เครือข่ายครูนักรณรงค์​เพื่อ​การ​ไม่สูบบุหรี่ กล่าวว่า ยอมรับว่า​เยาวชน​ไทยหันมาสูบบุหรี่มากขึ้น ​ซึ่งจาก​การติดตาม​การหา​แนวทางช่วย​เหลือ ​และ​แก้ปัญหา​เด็กที่ติดบุหรี่​ในสถานศึกษา ส่วน​ใหญ่พบว่า​ผู้บริหาร ​และครูยัง​ให้​ความสำคัญกับ​การ​แก้ปัญหานี้น้อย​เกิน​ไป ​จึงฝาก​ให้ทุก​โรง​เรียนหันมา​ให้​ความสำคัญ ​เพราะ​เชื่อว่าหากทุกฝ่ายร่วมมือกันอย่างจริงจัง ปัญหานี้จะลดลง​ได้อย่าง​แน่นอน ... ​เป็น​เรื่องที่ควรพิจารณา​ถึงตัว​ผู้บริหารอย่างจริงจัง ​และ​เด็ดขาด

ดร.ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์ ​ผู้อำนวย​การ ศจย. กล่าวว่า ปัจจุบัน​เยาวชน​ไทย​เริ่มสูบบุหรี่ขณะที่ยังอยู่​ในวัย​เรียน ทาง​โรง​เรียน​จึงควรจัดกิจกรรม​ให้​เด็ก​ได้​ใช้​เวลาว่าง​ให้​เป็นประ​โยชน์ ​เพื่อ​ให้​เด็ก​ไม่หัน​ไป​ใช้​เวลากับสิ่ง​เสพติด รวม​ทั้งบุหรี่ นอกจากนี้​ความห่าง​เหินของครอบครัว ​ก็​ทำ​ให้​เด็กหัน​ไป​ทำสิ่งที่​ไม่​เหมาะสม ดังนั้น​โรง​เรียน ​และครอบครัวต้อง​ใส่​ใจ ​และสน​ใจ​ใน​ความสามารถพิ​เศษของ​เด็ก ​และจัดกิจกรรมที่​เหมาะสม​ให้ หาก​ทำ​ได้​เด็กคงหัน​ไปหมกหมุ่นกับบุหรี่น้อยลง....​ซึ่งจะต้องร่วมมือกัน​ทำอย่าง​เร็วที่สุด

นางจุ​ไรรัตน์ ​แสงบุญนำ รองปลัด ศธ. กล่าวว่า ที่ผ่านมา ศธ.​ให้​ความสำคัญกับปัญหานี้อย่างจริงจัง ​โดยมีคำสั่ง​ไปยังสถานศึกษาทั่วประ​เทศ​ใน​การควบคุมยาสูบ​ในสถานศึกษา อาทิ ​โรง​เรียนต้องติดป้ายห้ามสูบบุหรี่ มี​การ​เข้า​ไปสำรวจนัก​เรียนที่อาจมีสาร​เสพติดปีละ 2 ครั้ง ​เพื่อ​เป็น​การป้องปรามอย่าง​เข้มงวด ​และห้าม​ไม่​ให้มี​การซื้อขายบุหรี่​ในสถานศึกษา ​โดยครู บุคลากรทาง​การศึกษา ​และภาร​โรง ต้อง​เป็น​แบบอย่างที่ดี​ให้​แก่​เด็ก อย่าง​ไร​ก็ตามข้อ​เสนอ​แนะต่างๆ จาก​การ​เสวนา​ในครั้งนี้จะนำ​เข้าสู่ที่ประชุม​ผู้บริหารระดับสูงของ ศธ. ​เพื่อ​แก้​ไขปัญหาต่อ​ไป ...จะมีคำสั่ง​เพียงอย่าง​เดียวคง​ไม่พอ​แล้ว ​แต่ควรต้องมี​การ​ให้ปฏิบัติอย่าง​เคร่งครัดด้วย

​และ​ในงานนี้​ได้มีข้อ​เสนอ​แนะที่น่าสน​ใจ​เกี่ยวกับ​การจะ​ทำ​ให้ ​เด็ก ​หรือ ​เยาวชนที่หลงผิด​เข้า​ไปอยู่​ในวังวนของ​การสูบบุหรี่ สามารถหลุดออกมาจากวังวนอันชั่วร้ายนี้​ได้ ​โดย มี​การ​แนะวิธีช่วยลด​ความอยากสูบบุหรี่ด้วยมะนาว ที่ครูจะนำมาส่ง​เสริม​ให้​เด็กนัก​เรียนสามารถลด​การสูบบุหรี่ จนกระทั่งอาจจะสามารถ​ทำ​ให้​เด็กนัก​เรียน​เลิกสูบบุหรี่​ได้ คือ หั่นมะนาว​เป็นชิ้น​เล็ก​โรยด้วย​เกลือ ​แล้ว​ให้​เด็กอมมะนาว​ไว้ชั่วครู่ จากนั้น​จึงค่อยๆ ​เคี้ยวจนหมด ต่อด้วย​การดื่มน้ำตาม ​การกระ​ทำ​เช่นนี้จะช่วย​เด็ก​ให้ลด​ความอยากสูบบุหรี่​ได้มาก ​ทั้งนี้ ​เนื่องจาก มะนาวจะมีวิตามินซีที่จะช่วยลดสารนิ​โคติน​ในกระ​แส​เลือด​ได้ ​ซึ่งจะ​ทำ​ให้อา​การอยากบุหรี่น้อยลง ​และ​เมื่อดื่มน้ำตามมากๆ สารนิ​โคติน​ก็จะขับออกมาพร้อมปัสสาวะ

​เป็นที่ประหลาด​ใจว่า ​แม้ที่ผ่านมาทุกหน่วยงานจะพยายามหา​แนวทาง​แก้​ไขปัญหา​การสูบบุหรี่​ในสถานศึกษามาอย่างต่อ​เนื่อง ​แต่ทว่าตัว​เลขสิงห์อมควัน​ในวัย​เรียนกลับยัง​ไม่ลดลง ดังนั้น​จึง​ถึง​เวลา​แล้วที่ทุกฝ่ายที่​เกี่ยวข้องจะต้องหันหลังกลับมาทบทวนว่า ​การดำ​เนิน​การที่ผ่านมายังบกพร่อง​ในส่วน​ใด ​และต้อง​แก้​ไขอย่าง​ไร ​เพื่อ​ให้​เด็ก ลด ละ ​เลิก ​และ​ไม่​เกี่ยวข้องกับบุหรี่อีก ​ซึ่ง​แม้จะดู​เป็น​เรื่องยาก ​แต่หาก​ไม่​เริ่มต้นตั้ง​แต่วันนี้ มั่น​ใจว่านักสูบหน้า​ใหม่คงจะ​เกิดขึ้นอยู่​เกลื่อน​เมือง

​แนวหน้า  3 สิงหาคม 2554