ผู้เขียน หัวข้อ: จดหมายเปิดผนึกถึงนายกแพทยสภา  (อ่าน 1275 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9796
    • ดูรายละเอียด
จดหมายเปิดผนึกถึงนายกแพทยสภา
« เมื่อ: 27 มิถุนายน 2011, 21:33:20 »
จดหมายเปิดผนึกถึงนายกแพทยสภา
สหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์
และสาธารณสุขแห่งประทศไทย(สผพท.)

27 มิถุนายน 2554

เรื่อง ขอทราบความคืบหน้าเรื่องการดำเนินการของแพทยสภาเกี่ยวกับการยื่นฟ้องศาลปกครองให้ยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนา ไม่ประสงค์รับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต  หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยพ.ศ. 2553

เรียน นายกแพทยสภา

อ้างถึง กฎกระทรวงตามมาตรา 12 ของพ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550

   สืบเนื่องจากการสัมมนาเรื่อง“เจตนารมณ์การขอใช้สิทธิการตายในวาระสุดท้ายของ ชีวิต : ผลกระทบต่อผู้ป่วยและแพทย์” ที่จัดขึ้นโดยคณะกรรมาธิการสาธารณสุขวุฒิสภา เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2554 นั้น 

นายสรรค์ชัย ชญานิน ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการสาธารณสุข วุฒิสภา กล่าวว่า กฎกระทรวงดังกล่าวหากไม่สามารถบังคับใช้ได้ก็จะถือว่าผิดรูปแบบของการออกกฎห มาย ทำให้กฎหมายเป็นหมัน ผิดหลักความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายและแพทย์ที่ไม่เห็นด้วยก็ยื่นฟ้องต่อ  ศาลปกครองสูงสุดให้ยกเลิกกฎกระทรวงนี้ได้ ซึ่งจะส่งผลให้กฎกระทรวงหมดสภาพและกฎหมายแม่ซึ่งก็คือ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 เป็นกฎหมายที่มีช่องโหว่จากนั้นก็สามารถยื่นฟ้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้พิพากษา   พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติเป็นโมฆะได้

ทั้งนี้ เนื่องจากกฎกระทรวงฉบับนี้ ยังมีปัญหาในการปฏิบัติอยู่มาก อาจก่อให้เกิดความไม่สะดวกของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมในการปฏิบัติตามกฎกระท รวงนี้ จนอาจนำไปสู่การร้องเรียน/ฟ้องร้อง ว่าผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมได้กระทำผิดต่อจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม โดยการละเลยการช่วยชีวิตผู้ป่วย ไปจนถึงข้อกล่าวหาที่ร้ายแรงที่สุดว่า ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมได้ “จงใจฆ่าผู้ป่วยโดยการไตร่ตรองไว้ก่อน หรือมีเจตนาฆ่าผู้อื่น” อันจะทำให้เกิดความลำบากเดือดร้อนแก่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมทั้งมวล โดยเฉพาะต่อแพทย์ผู้ดูแลรักษาผู้ป่วยอาการหนัก/ฉุกเฉิน  ซึ่งไม่มีแนวทางใดที่จะสามารถชี้ขาดได้ถูกต้อง 100% ว่า ผู้ป่วยนั้นๆได้ตกอยู่ในวาระสุดท้ายของชีวิตจริงหรือไม่  นอกจากนั้นยังอาจจะมีปัญหาในการพิสูจน์หนังสือแสดงความจำนงตามมาตรา 12 ของพ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติว่า ฉบับใดเป็นฉบับจริง/ปลอม/ฉบับสุดท้าย ซึ่งภาระเหล่านี้ได้ถูกผลักให้เป็นภาระของแพทย์เจ้าของไข้ ซึ่งจะทำให้แพทย์ต้องรับภาระมากเกินส่วน ในการปฏิบัติตามกฎกระทรวงนี้ 

  ซึ่งในที่ประชุมสัมมนานั้น แพทย์ส่วนมากที่ยังทำงานเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมได้มีความเห็นว่า ควรจะต้องมีการดำเนินการเพื่อยุติการบังคับใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ก่อน เพื่อป้องกันปัญหาอันร้ายแรงที่จะเกิดจากผลของกฎกระทรวงฉบับนี้

   เนื่องจากแพทยสภา เป็นสภาวิชาชีพจัดตั้งขึ้นตามพ.ร.บ.ประกอบวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 ที่มีวัตถุประสงค์ตามมาตรา 7(1) ควบคุมการประพฤติของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ให้ถูกต้องตามจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรมและตามมาตรา 7(6) เป็นตัวแทนของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมในประเทศไทย

แพทยสภาจึงควรยื่นดำเนินการในฐานะทั้งสองดังกล่าว โดยการยื่นฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุด เพื่อขอให้ยกเลิกเพิกถอน กฎกระทรวงดังกล่าว และสามารถติดตามดำเนินการฟ้องร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ให้พิพากษาว่า พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติมีช่องโหว่ในการบังคับใช้ สมควรยกเลิกเพิกถอนออกจากสารบบของกฎหมายไทยต่อไป

   ถ้าแพทยสภาได้ดำเนินการใดๆไปแล้ว กรุณาแจ้งให้สมาชิกแพทยสภาทุกท่านทราบด้วย แต่ถ้าแพทยสภายังไม่ได้ดำเนินการใดๆเกี่ยวกับเรื่องนี้ ข้าพเจ้าในฐานะสมาชิกแพทยสภาและมวลสมาชิกของสผพท.ขอเรียกร้องแพทยสภาให้ดำเนินการโดยด่วน ก่อนที่จะหมดอายุความ ทั้งนี้ ก็เพื่อคุ้มครองผู้ป่วย ไม่ให้ตายโดยยังไม่สมควรตาย และคุ้มครองแพทย์ให้ได้รับความสะดวกปลอดภัยในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมต่อไป

ขอแสดงความนับถือ

พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
สมาชิกแพทยสภาและประธานสผพท.